รู้จัก หุ่นยนต์ส่งของ ขนาดเล็กในโรงงานที่มีความคล่องตัวสูง
หุ่นยนต์ส่งของ ขนาดเล็กที่โรงงานอุตสาหกรรมต่างเลือกใช้ คล่องตัวสูง บำรุงรักษาง่าย
หุ่นยนต์ส่งของ ขนาดเล็กที่มีความคล่องตัวสูงกว่าหุ่นยนต์ AGV (Automated Guided Vehicle) ทำให้ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วในการใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรม
โดยในปี 2025 เทคโนโลยีของหุ่นยนต์ส่งของถูกพัฒนาขึ้นอย่างมาก และใช้งานกันอย่างแพร่หลายในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทย เนื่องจากมีราคาที่ประหยัด รวมถึงการบำรุงรักษาที่ง่ายเหมาะกับการลำเลียงชิ้นงานขนาดเล็ก หรืองานที่ต้องทำซ้ำๆทั้งวัน ลดการเดินไปมาแบ่งเบาภาระในการแบกน้ำหนักของพนักงาน ช่วยให้มีเวลาไปรับผิดชอบหน้าที่ๆได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
หุ่นยนต์ส่งของ คือ
หุ่นยนต์ส่งของ (Service Robot) คือหุ่นยนต์ลำเลียงขนาดเล็ก AMR ที่เน้นในเรื่องความคล่องตัวเป็นหลัก จะแตกต่างกับหุ่นยนต์ AGV (Automated Guided Vehicle) สำหรับการนำส่งชิ้นงานทำได้อย่างรวดเร็วฉับไว โดยหุ่นยนต์จะใช้ระบบ SLAM positioning mapping system ในการสร้างแผนที่และระบุตำแหน่งต่างๆเพื่อให้รู้จักจุดรับส่งต่างๆในไลน์ผลิต ในบางรุ่นจะใช้ Laser ในการระบุตำแหน่งรวมถึงใช้ Laser ในการหลบหลีกตรวจจับสิ่งกีดขวาง โดยทั่วไปหุ่นยนต์จะรับน้ำหนักหรือโหลดได้ประมาณ 40-600กิโลกรัมแล้วแต่รุ่น ใช้พื้นที่การเดินไม่มากเพียง 60-90 เซนติเมตรเท่านั้น และยังทำความเร็วมาตรฐานได้ที่1เมตรต่อวินาที
หุ่นยนต์ส่งของทำงานอย่างไร?
การทำงานของหุ่นยนต์ส่งของนั้น หุ่นยนต์จะเดินไปตามตำแหน่งต่างๆที่เราสร้างไว้โดยการสั่งงานผ่านการกดที่หน้าจอ ในบางรุ่นสามารถสั่งงานผ่าน tablet หรือ Smartphone หรือปุ่มกดภายนอกได้ หุ่นยนต์จะใช้ Laser ในการหลับหลีกสิ่งกีดขวาง มีการเก็บข้อมูลการเดินในแต่ละวันเพื่อมาวิเคราะห์หรือปรับแต่งให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเมื่อแบตเตอรี่ใกล้หมดหุ่นยนต์จะเดินกลับไปที่แท่นชาร์จโดยอัตโนมัติ
หุ่นยนต์ส่งของทำอะไรได้บ้าง?
นอกจากจะส่งของแล้ว หุ่นยนต์ในบางรุ่นยังสามารถปรับแต่งหน้าจอ ใส่รูปคลิป VDO หรือข้อความที่ต้องการจะประชาสัมพันธ์ได้อีกด้วย รวมถึงการพัฒนาฟังก์ชั่นเพิ่มเติมต่างๆได้เองผ่านระบบ API ได้ตามความต้องการ
ข้อดีข้อเสียหุ่นยนต์ส่งของ
ข้อดีของหุ่นยนต์ส่งของ
- ช่วยแบ่งเบาภาระของพนักงาน
- มีความคล่องตัวสูง รับน้ำหนักได้ทำเวลาได้ดีเดินต่อเนื่องได้
- เดินได้ประมาณ 30 กิโลเมตร หรือประมาณ 40,000 ก้าวของมนุษย์ /ต่อการชาร์จแบตเตอรี่1ครั้ง
- สามารถพัฒนาฟังก์ชั่นเพิ่มเติมได้ตามต้องการ (API)
- บริหารจัดการบุคลากรได้ง่ายขึ้น ส่งผลดีต่อธุรกิจ
- มีการเก็บ data การเดินในแต่ละวันนำมาวิเคราะห์และปรับปรุงการจัดการได้
- ราคาไม่สูง ติดตั้ง บำรุงรักษาง่าย
- ทำงานได้ทุกวัน
ข้อเสียของหุ่นยนต์ส่งของ
- ไม่สามารถหยิบของเองได้
- ในบางรุ่นเหมาะกับสถานที่แบบ indoor เท่านั้น
- ต้องเชื่อมต่อ Wifi เป็นหลักในการใช้งาน เพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมต่างๆ
- การเขียน API หรือฟังก์ชั่นเพิ่มเติมยังมีราคาสูง
- อะไหล่สิ้นเปลืองในบางรุ่น ต้องเปลี่ยนยกชุด
ข้อควรระวังการใช้งานหุ่นยนต์ส่งของ
- การใช้ Lidar ในการเดินเพียงอย่างเดียวความแม่นยำอาจมีคลาดเคลื่อนบ้าง
- การใช้ Lidar ในการเดินเพียงอย่างเดียว หากพื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงอาจทำให้หุ่นยนต์หลงทิศได้
การบำรุงรักษาหุ่นยนต์ส่งของ
- การ Service ตรวจเช็คตามระยะเวลาที่กำหนด
- การเปลี่ยนอะไหล่สิ้นเปลืองตามระยะที่กำหนด ช่วยยืดอายุการใช้งาน
- การชาร์จแบตเตอรี่ควรปิดเครื่องแล้วชาร์จแบบคราวเดียวเต็ม จะช่วยยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่
คำแนะนำการใช้งานหุ่นยนต์ส่งของ
หากต้องการใช้งานหุ่นยนต์ส่งของแบบจริงจังและใช้งานแบบต่อเนื่อง แนะนำให้ทดสอบในสถานที่ใช้งานจริงก่อนตัดสินใจ